วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำกับการสร้างทีมงาน

เรื่อง ภาวะผู้นำกับการสร้างทีมงาน
โดย รองศาสตราจารย์สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  ที่ข้าพเจ้าอ่านมาสรุปได้ดังนี้
เริ่มจากการแบ่งผู้นำตามพฤติกรรม (Leadership behavior) มีดังนี้
แบบที่ 1 ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman)
               เป็นผู้นำที่ใช้คำสั่งหรือคำแนะนำเป็นเครื่องมือทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ตาม  เนื่องจากสมัยก่อนผู้นำส่วนใหญ่เป็นผู้ชายจึงนิยมเรียกผู้นำว่า ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจที่มากับตำแหน่งของตน ด้วยวิธีข่มขู่ให้เกรงขาม (coercion) ตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้นำแบบนี้ ก็คือ ผู้นำเผด็จการทหารที่ใช้อำนาจด้วยวิธีตะเพิดข่มขู่ให้ลูกน้องเกิดความเกรง กลัว
แบบที่ 2 ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor)
เป็นผู้นำที่ใช้รางวัล (rewards) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามของผู้ตามรางวัลหรือผลประโยชน์แลก เปลี่ยนจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ยินยอมปฏิบัติ ตามที่ผู้นำปรารถนา เพราะผู้ตามรู้ว่าผู้ควบคุมและมีอำนาจจัดสรรรางวัลหรือทรัพยากรในหน่วยงานก็ คือผู้นำ
แบบที่ 3 ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero)
เป็นผู้นำที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษ (charisma) ของตนเป็นเครื่องมือ เกิดอิทธิพลกระตุ้นให้เกิดแรงดลใจขึ้นแก่ผู้ตามให้อยากทำตามอย่างที่ผู้นำทำ ทั้งนี้เพราะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวผู้นำ ผู้นำแบบนี้บางคนก็เรียกว่า ผู้นำโดยบารมี เป็นผู้นำที่มีศิลปะในการพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเชื่อว่าภาพในอนาคตที่ผู้นำพูดถึงนั้นสามารถไปได้ถึงแน่นอน ถ้าร่วมใจกันทำอย่างที่ผู้นำต้องการ เนื่องจากผู้นำเป็นนักคิด นักพูดและนักวาดฝันถึงอนาคตที่เป็นไปได้ เราจึงเรียกผู้นำแบบนี้ว่า ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (visionary hero)  ผู้นำแบบนี้จึงกล้าคิดกล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าท้าทายต่อสิ่งใหม่ ๆ แม้ว่าจะกระทบต่อตำแหน่งสถานภาพตนเองหรือคนอื่นก็ตาม ถ้าเชื่อว่าสิ่งที่ทำนั้นทำให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น จึงเป็นผู้นำที่สามารถยกระดับคุณธรรมของลูกน้องให้สูงขึ้นจากทำงานเพื่อได้ ประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งการได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญอีกด้วย ผู้นำแบบนี้คนมักยกย่องเหมือนวีรบุรุษ เช่น มหาตมะคานธี ผู้กอบกู้เอกราชให้อินเดีย มาร์ตินลูเธอร์ คิง ผู้นำที่ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนผิวดำ มิให้ถูกรังเกียจและแบ่งแยกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากสังคม เป็นต้น แต่ก็มีข้อระวัง ถ้าผู้นำแบบนี้ไร้จริยธรรม ก็จะใช้พลังประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาตนไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จนต้องพบความหายนะ เช่น กรณีของ อะด๊อฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น จึงเป็นผู้นำวิสัยทัศน์แบบจอมปลอม
แบบที่ 4 ผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader)
เป็นผู้นำที่มุ่งพัฒนาผู้ตาม เพื่อให้สามารถนำตนเอง จนในที่สุดผู้ตามก็แปรสภาพไปเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติ มีบางคนเรียกผู้นำแบบนี้ว่า “ผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (empowering leader) ผู้นำแบบนี้มีจุดเด่นที่สามารถเรียกว่า “ชั้นยอด” ก็เพราะเป็นผู้ที่ยึดเอาจุดแข็งของผู้ตามเป็นสำคัญ เป็นผู้นำที่เข้าใจนำคนอื่นให้เขารู้จักนำตัวเอง (lead others to lead themselves) รูปแบบของผู้นำชั้นยอด ผลเชิงจิตวิทยาก็คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) เกิดขึ้น และที่สำคัญคือ ผู้ตามได้พัฒนาทักษะในการนำตนเองตลอดจนความรู้สึกเป็นผู้นำตนเองหรือการเป็น “นายตัวเอง” ได้ในที่สุด
             ที่กล่าวมาแล้ว ช่วยให้เราพอที่จะมองเห็นถึงอิทธิพลของผู้นำที่มีต่อทีมงานได้ไม่มากก็น้อย ต่อไปนี้จะขอหลอมรวมแนวคิดของทฤษฎีต่าง ๆ ด้านภาวะผู้นำ แล้วจัดออกเป็น 2 มิติ มิติแรก มองผู้นำในแง่การใช้อำนาจ (power orientation) เช่น ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก เป็นเผด็จการสูงและมีแนวโน้มใช้อำนาจด้วยคำสั่งและการบังคับให้ผู้ตามต้อง ปฏิบัติตามที่ตนต้องการ ในขณะที่ผู้นำบางคนที่เป็นประชาธิปไตยก็จะยินยอมให้ผู้ตามสามารถเลือกแนวทาง ในการทำงานด้วยตนเอง (เช่น ผู้นำแบบชั้นยอด) มิติที่สอง มองจากระดับของการเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของผู้นำ (leader involvement) ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าเข้าไปข้องเกี่ยวกับกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ที่ผู้ตามปฏิบัติอย่างใกล้ชิด ซึ่งเรียกว่า “เกี่ยวข้องเชิงรุก” (active involvement)  ลดลงถึงระดับที่ผู้นำยอมปล่อยมืออนุญาตให้ผู้ตามได้ทำงานกันอย่างมีอิสระ สูง ซึ่งเรียกว่า “เกี่ยวข้องเชิงรับ (passive involvement)
ผู้นำแบบอำนาจเด็ดขาด (Overpowering leadership)
  เป็นผู้นำแบบเผด็จการที่เข้าไปควบคุมกำกับทีมงานอย่างใกล้ชิด ถ้าตราบใดที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของการทำงานของทีมงานอยู่ ตลอดเวลา ปัญหาเช่นนี้มักพบเห็นอยู่บ่อย ๆ ในบริษัทธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อทีมงานต้องการทำงานภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย ส่งผลให้แทนที่จะได้งานสร้างสรรค์จากพนักงานกลับกลายเป็นสมาชิกทีมงานรู้สึก เก็บกด อึดอัดที่ต้องอยู่ภายใต้อาณัติของผู้นำตลอดเวลา คนเหล่านี้จึงไม่อาจใช้พลังสมองของตนไปเพื่อการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ดังนั้นการมีผู้นำที่มีพฤติกรรมเผด็จการและขยันทำทุกเรื่อง จึงอันตรายมากกับหน่วยงาน
ผู้นำแบบไร้อำนาจ (Powerless leadership)
                เป็นผู้นำที่เผด็จการแต่ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับงานของทีม งาน   ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้นำแบบนี้ คือ เมื่อผู้นำไม่ใส่ใจต่อการทำงานของทีมทำให้ทีมงานขาดโอกาสได้พัฒนาทักษะในการ ทำงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ทีมงานยังขาดความมั่นใจว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องและถูกใจผู้นำหรือ ไม่ เหตุการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคี การไม่ไว้วางใจขึ้นในทีมงาน เกิดการหวาดระแวง แก่งแย่งอำนาจกันขึ้น ทำให้ทีมงานอ่อนแอลงไม่อาจสร้างผลงานที่มีคุณภาพได้อีกต่อไป และอาจล่มสลายในที่สุด
ผู้นำแบบสร้างอำนาจ (Power-building leadership)
                เป็นผู้นำที่เป็นประชาธิปไตยและมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ต่าง ๆ ของทีม จึงเป็นแบบของผู้นำที่ครอบคลุมผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (visionary hero) และผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader) ไว้ด้วยกัน แต่มีความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (transactor) อยู่บ้างเล็กน้อย โดยผู้นำแบบนี้จะให้คำแนะนำ และสอนทักษะสำคัญแก่ทีมงาน แล้วค่อยปล่อยให้ทีมงานมีอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ผู้นำจะกระจายอำนาจ กระตุ้นให้กำลังใจคอยเสริมแรงและให้ความร่วมมือต่าง ๆ แก่ทีมงาน ให้ความช่วยเหลือในการสร้างวิสัยทัศน์ของทีม
ผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ (Empowered leadership)
                เป็นผู้นำที่เป็นประชาธิปไตยแต่ไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของทีมงานหรือมี พฤติกรรมแบบเชิงรับ (passive) โดยผู้นำปล่อยให้ทีมงานมีอิสระอย่างเต็มที่ในการกำหนดกระบวนการทำงานและ กลยุทธ์ในการทำงานให้สำเร็จได้ด้วยทีมงานเอง ผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จจึงตรงกับผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader) ที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ ผู้นำจะมอบหมายบทบาทต่าง ๆ ของการเป็นผู้นำตามแนวคิดทางบริหารให้แก่ทีมงานทั้งหมด อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้มิได้หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่ผู้นำจะเปลี่ยนมาทำบทบาทใหม่คือ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) เป็นผู้ฝึกสอนหรือโค้ช (coach) ผู้นำจึงกลายเป็นแหล่งของภูมิปัญญาของทีมที่สามารถนำมาใช้ได้เมื่อทีมต้อง การ ผู้นำคอยช่วยเหลือในการประสานงานภายในทีม ระหว่างทีมและกับบุคคลทั่วไปเพื่อให้การทำงานของทีมดีขึ้น
การนำไปใช้โดยเลือกส่วนที่ดีของการเป็นผู้นำในรูปแบบต่างๆที่กล่าวมาไป ใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ของการเป็นผู้นำ คือ วิสัยทัศน์ เมื่อผู้นำต้องการที่จะสร้างทีมงานภายใต้วิสัยทัศน์นั้น ภายในทีมงานจะต้องมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ การสร้างทีมงานให้เกิดความสามัคคี ให้ความรู้ ทักษะ อย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานและมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งองค์กร
                บทความนี้ทำให้กระผมได้ตระหนักถึงความสำคัญของ ทีมงาน เป็นที่สุด บทบาทของผู้นำจะเปลี่ยนเป็นเพียงแค่ ผู้ให้คำปรึกษา หากทีมงานมีประสิทธิภาพ แต่ตรงกันข้ามผู้นำอาจต้องลงไปทำและวุ่นวายกับงานเกือบทุกงานหากสร้างทีมงาน ไม่ได้
ที่มาhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/380999

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

10 ประการที่ผู้นำควรมี

ใน หนังสือ Performance Without Compromise เขียนโดย Charles F. Knight ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดที่ประสบความสำเร็จที่ บริษัท Emerson Electric ได้ระบุถึงคุณลักษณะสำคัญของผู้นำที่ดีไว้ว่า ไม่มีวิธีการที่ดีที่สุดในการเป็นผู้นำ เนื่องจากผู้นำที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมีลักษณะหรือวิธีการเป็นผู้นำแตกต่างกันออกไป
บรรดาผู้นำต่างมีคุณลักษณะที่เหมือนๆ กัน 10 ประการที่พอจะบอกได้ว่า เป็นคุณสมบัติที่ผู้นำที่ดีควรจะมี
1.ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ (Committed to success) Knight ระบุไว้ว่า ผู้นำที่ดีต้องเริ่มต้นจากจุดนี้ คนเหล่านี้เมื่อมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ ก็จะทุ่มเทพลังงานเข้าทำงานเต็มที่ อีกทั้งยังเกาะติดกับงานที่ทำจนประสบความสำเร็จ ไม่ทำแบบจับจดหรือเลิกทำง่ายๆ
2.การกำหนดลำดับความสำคัญที่เหมาะสม (Set proper priorities) ดูเหมือนว่าทุกคน จะให้ความสำคัญกับการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำ แต่เมื่อถึงคราวปฏิบัติแล้วหลายครั้ง ที่ผู้นำจะไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญได้ ปัญหาหลักที่เกี่ยวข้องมีสามประการ ได้แก่
หนึ่ง ความยากลำบากในการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มีความสำคัญเพียงไม่กี่อย่าง รวมทั้งการต้องสื่อสาร และทำความเข้าใจในสิ่งที่สำคัญให้ทราบทั่วทั้งองค์กร สอง ผู้นำอาจมุ่งเน้นสิ่งสำคัญผิดเรื่อง หรืออาจจะไม่มั่นใจว่าเรื่องใดควรจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สาม ผู้นำมักจะมีปัญหาว่าเมื่อเลือกความสำคัญแล้ว จะเกิดอาการรักพี่เสียดายน้อง เนื่องจากการกำหนดความสำคัญ จะทำให้มีเรื่องบางเรื่องที่ถูกลดบทบาทหรือความสำคัญลง
จากการที่ผู้บริหารของ Emerson เห็นความสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญ ทำให้บริษัทนี้ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์อย่างละเอียด สำหรับทุกๆ หน่วยงานทุกปี เนื่องจาก Knight มองว่ากระบวนการวางแผนเป็นกระบวนการที่ช่วยในการถามคำถามว่าสิ่งใดมีความสำคัญ และช่วยทำให้ผู้บริหารได้เห็นในสิ่งที่สำคัญในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเป็นประจำ
นอกจากนี้ ผู้บริหารจะต้องสามารถสื่อสารเรื่องที่มีความสำคัญให้กับผู้บริหารและพนักงานได้ทราบ และกระบวนการวางแผน ก็เป็นกระบวนการสำคัญ ที่ช่วยในการสื่อสาร และถ่ายทอดสิ่งที่มีความสำคัญ ให้ผู้บริหารระดับล่างได้รับทราบ
3.การตั้งและคาดหวังในมาตรฐานที่สูง (Set and demand high standards) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความซื่อสัตย์ ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ และในด้านของผลการทำงาน ถ้าผู้นำไม่มีการตั้งมาตรฐานที่สูงและคอยดูแลการทำงาน เพื่อให้บรรลุมาตรฐานเหล่านี้อย่างใกล้ชิด ทั้งองค์กรก็ยากที่จะบรรลุมาตรฐาน
ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างระดับความกดดันที่เหมาะสมในองค์กร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องก่อให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัว แต่เป็นความกดดันที่จะผลักดันให้ทุกคนสามารถทำงานที่ท้าทายได้สำเร็จ
4.การเข้มงวดและยุติธรรม (Be tough but fair in dealing with people) โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับคน เนื่องจากคนมักโดยทั่วไปต้องการที่จะถูกวัด ถูกประเมิน และพัฒนา
ดังนั้น สิ่งที่ผู้นำจะช่วยในส่วนนี้ได้ก็คือเข้มงวดแต่ยุติธรรม โดยคำว่าเข้มงวดในที่นี้คือความเข้มงวดต่อการบรรลุผลงานที่ตั้งไว้ ในขณะเดียวกัน ความยุติธรรมนั้นก็ครอบคลุมโอกาสที่พนักงานจะได้แสดงออกถึงความสามารถ ถึงแม้จะล้มเหลวแต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้ผิดพลาด แต่ก็ไม่ควรที่จะผิดพลาดซ้ำ
5.การให้ความสำคัญกับโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ (Concentrate on positives and possibilities) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดความสำคัญของสิ่งที่จะทำนั้นควรที่จะมุ่งเน้นในสิ่งที่ผู้นำสามารถก่อให้เกิดความแตกต่าง ไม่ใช่ไปมุ่งเน้นปัญหาที่ยากจะแก้ไข หรือไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้
6.พัฒนาและรักษาระดับเร่งด่วน (Develop and maintain a strong sense of urgency) เนื่องจากปัญหาต่างๆ ถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไขก็จะไม่ดีขึ้นจนกว่าจะได้รับการแก้ไข ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาในเรื่องของการดำเนินงานและเรื่องคนโดยเร็ว ผู้นำที่ดีจะมีทัศนคติเสมอว่าทำในบางสิ่งบางอย่างดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้จะไม่ถูกต้องในตอนแรกแต่ก็จะหาทางแก้ไขจนถูกต้อง ดีกว่าไม่เริ่มทำสิ่งใดเลย (แล้วเอาแต่พูด)
7.การให้ความใส่ใจในรายละเอียด (Pay attention to detail) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ และไม่มีสิ่งใดที่จะทดแทนข้อมูลได้ ในการเอาใจใส่และให้ความสนใจต่อข้อมูลอย่างละเอียด จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการตัดสินใจ
8.การยอมรับต่อความผิดพลาด (Provide for the possibility of failure) เนื่องจากไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ดังนั้น จึงจำต้องวางแผนทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้คนสร้างสรรค์และคิดในสิ่งใหม่ๆ ย่อมจะนำไปสู่โอกาสของความล้มเหลวได้ง่าย การยอมรับความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารทุกคน
9.การเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องสำคัญ (Be personally involved) ถ้าผู้บริหารได้ลงมาเกี่ยวข้องใกล้ชิด ย่อมจะทำให้โอกาสในการที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้มาก อีกทั้งยังจะช่วยในเรื่องของการลดปัญหาการเมืองภายในองค์กรอีกด้วย เนื่องจากเมื่อผู้นำสูงสุดมาเกี่ยวข้องแล้ว ย่อมจะเป็นการส่งสัญญาณให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของงานและความมุ่งมั่นของผู้นำ
10.สนุกกับงาน (Have fun) เรื่องนี้ง่ายมากครับ ถ้าเราไม่รู้สึกสนุกกับงาน ก็จะส่งผลให้ลูกน้องไม่สนุกกับงานไปด้วย ความสนุกนั้นเกิดขึ้นได้จากการที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ดีและมุ่งมั่นเช่นเดียวกัน รวมทั้งความสำคัญที่มีต่อเนื่อง
แหล่งอ้างอิง: 
http://www.thaireaderclub.com/article.php?c_no=846&f_group=life

การเป็นผู้นำที่ดี "ไม่ควรทำ" และ "ควรปฏิบัติ"

คุณสมบัติผู้นำที่ดีมี 10 อย่าง คือ
1. หูหนัก (ไม่เชื่อใครง่าย)
2. ปรับยอด (เน้นระเบียบวินัย)
3. ปลอดผิด (ไม่ทำผิดระเบียบ)
4. คิดเป็น (คิดดี คิดชอบ)
5. เห็นไกล (มีวิสัยทัศน์)
6. ใช้ธรรมะ (ใช้หลักธรรมในการปกครอง)
7. นำตรง (พาหมู่คณะไปสู่ทิศทางความเจริญ)
8. คงงาน (แนะนำงาน กำกับดูแล)
9. หาญใหญ่ (ใจกล้า เผื่อแผ่)
10. ใจถึง (กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ปกป้องลูกน้อง กล้ามอบหมาย กล้ารับผิด)

คุณสมบัติผู้นำที่ด้อยมี 10 อย่าง คือ
1. หูเบา (เชื่อคนง่าย ขาดความยุติธรรม)
2. เข้าข้าง (ลำเอียงไปที่ตัวเองและพวกพ้อง)
3. วางโต (อวดรู้ อวดเก่ง เบ่งกล้าม ข่มขู่)
4. โง่งม (ไม่ยอมรับว่าตนเองผิด หลงตัวเอง หลงทาง ไม่ยอมปรับเปลี่ยน)
5. ซ่อนงาน (ไม่ยอมสานต่องานจากคนอื่น ทำให้งานไม่ต่อเนื่องหยุดชะงัก)
6. ผลาญเงิน (ไม่รู้จักการประหยัด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย)
7. เดินผิด (ยิ่งเดิน ยิ่งไกล ยิ่งเข้าใกล้ ยิ่งห่างหาย คนเตือนก็ไม่รับฟัง)
8. จิตฟุ้ง (ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หวั่นไหวตามสถานการณ์)
9. มุ่งได้ (เอาแต่ประโยชน์ ไม่ยอมเสียสละ)
10. ขายเพื่อน (เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น)

คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี

1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง(Self realization)

    * รู้ถึงความต้องการแห่งตน
    * รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน
    * รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด
    * รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
    * รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
    * รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ
    * รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ
    * ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง

2.การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)

    * มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น
    * มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence) ในปัจจุบัน และในอนาคตได้
    * เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา "ใคร(Who)? ทำอะไร(What)? ที่ไหน(Where)? เมื่อไร(When)?
      ทำไม(Why) อย่างไร(HOW)? ” (5-W 1H)
    * เข้าใจถึง หลักการ "อริยสัจ” ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี
    * เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล
    * มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้

3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล (Life Long Learning)

    * มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา
    * เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป
    * มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลว และสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
    * ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต
    * มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง
    * สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
    * การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น
    * นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ "รู้ว่าเรารู้อะไร” และ "รู้ว่าเราไม่รู้อะไร” เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น ให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
    * กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก ความปรารถนาของตน (Personal Vision) ถูกตั้งไว้ และกำหนดเป็นเป้าหมายใน
      ขั้นตอนของชีวิต เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental Model) อย่างเข้าใจ
      ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision) อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง
      ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team Llearning)
      รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไป สู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้
    * ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New Society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด

4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร

ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด "คือการบริหารคน” นั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนด วิธีการหรือระบบ (System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริการคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์ และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี "เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน (Hidden Agenda)" อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยาก และไม่อาจ กำหนดผลลัพธ์ อย่างตรงไปตรงมา ได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจ ของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดา พฤติกรรม แสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน ผลเสียหายจากปฏิกริยาตอบโต้ของคนได้

5. การเป็นคนดี "Good Person”

คนเก่ง และคนดีเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน "คนเก่ง” สร้างได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่า โดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ "คนดี" สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบ จากนั้นสิ่งที่ได้รับ มาจะกลายเป็น โครงสร้างพฤติกรรม ของคนๆ นั้น(Frame of Reference)เขาจะใช้มัน ปรับให้เข้า
กับสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสโดยใช้ กระบวนการ ที่ซับซอ้นมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมี การพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้น มาแล้ว เป็นอย่างดีโดย พ่อแม่ครูอาจารย์ ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญ่ จะเป็นคนที่สามารถ ปรับสมดุล ในตนเองให้ได้ระหว่าง "กิเลส” จาก จิตเบื้องต่ำขับเคลื่อน ด้วย สัญชาติญาณแห่ง ความต้องการ ที่รุนแรงที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ "มโนธรรม” ที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนา ในอุดมคติแห่งตนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดคนดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้

    * มีความรู้ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด (IQ= Intelligence Quatient) รู้แจ้งถึงความดีความชั่ว รู้ที่จะเอาตัวรอด จากเล่ห์อุบายของตัณหา คนชั่ว และนำพาตนเองและผู้คนให้เห็นแจ้งในทางที่ดีควร ประพฤติปฏิบัติได้
    * มีความอดกลั้น สติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (EQ= Emotional Quatient) จนตกอยู่ในห้วง"กิเลส” คือ โลภะ โทษะ และโมหะ และเกิดปัญญาในการแก้ไข สร้างสรรค์ และเล็งเห็น ผลเลิศในระยะยาวได้
    * มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (AQ= Adversity Quatient) พร้อมที่จะเสียสละแรงกาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอุดมคติแห่งตน และความดีที่ยึดมั่น ไม่หวั่นไหว ต่อคงามลำบากและอุปสรรคไดๆ
    * ไม่เป็นผู้ยึดติดกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งจนเกินพอดี(VQ= Void Quatient)รู้ที่จะ ปรับเปลี่ยน ตนเอง ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างเหมาะสม
    * ป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม (MQ= Moral Quatient) มีสำนึกของ "ความผิดชอบชั่วดี” มีความละอายใจต่อบาป ไม่ประพฤติชั่ว มุ่งทำแต่ความดี มีจิตใจที่ผ่องใส

ที่มา:  http://www.baanbaimai.com/forum/index.php?topic=3355.0